ในโลกนี้มีระบบการเขียนอยู่สองประเภท คือ

1. ระบบการเขียนที่แสดงการออกเสียง ระบบการเขียนของภาษาเกือบทุกภาษาในโลกใช้ระบบการเขียนประเภทนี้ ซึ่งเป็นระบบการเขียนที่แสดงการออกเสียงโดยตรงถ้าเรียนตัวอักษรครบแล้วก็จะออกเสียงได้เกือบทั้งหมด (ถึงแม้อาจจะยังไม่รู้ความหมายก็ตาม) แต่รูปร่างของตังอักษาไม่ได้แสดงความหมายแต่อย่างใด อย่างเช่นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

2. ระบบการเขียนที่แสดงความหมาย ประเทศหรือชนเผ่าที่ใช้ระบบการเขียนประเภทนี้มีน้อยมาก เช่น จีน อียิปต์ และชนเผ่าเล็ก ๆ บางเผ่าที่ไม่เป็นที่รู้จักกันของคนทั่วไป(แต่อียิปต์ได้หันมาใช้ระบบการเขียนที่แสดงการออกเสียงมานานแล้ว) ระบบการเขียนประเภทนี้อาศัยรูปร่างของตัวอักษรแสดงความหมาย คือในช่วงแรก ตัวอักษรแต่ละตัวเกิดจากการวาดภาพ ซึ่งเราเรียกว่า อักษรภาพ (象形文字 xiàngxíngwénzì)แต่ตัวอักษรเองไม่ได้แสดงให้เห็นว่าควรจะออกเสียงอย่างไร

 

 

ระบบการเขียนของภาษาจีน(ตัวหนังสือจีนหรืออักษรจีน) เกิดจากการวาดภาพของคนโบราณในสมัยดึกดำบรรพ์ ต่อมาได้พัฒนาขึ้นมาเป็นระบบการเขียนที่สมบูรณ์เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อน อักษรภาพอาศัยรูปร่างของตัวอักษรแสดงความหมาย กล่าวคือ ในช่วงเริ่มแรกที่ระบบการเขียนกำเนิดขึ้นมา อักษรภาพส่วนใหญ่เห็นแล้วก็พอ จะรู้ว่าหมายความว่าอะไร เพราะเหมือนของจริงมาก ดังนั้นระบบการเขียนของภาษาจีนจึงเป็นระบบการเขียนที่แสดงความหมาย

แต่เพื่อทำให้การเขียน การใช้งานสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมานี้ อักษรภาพได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นการลดจำนวนเส้นขีดให้น้อยลง และหันมาใช้เส้นตรงแทนเส้นโค้งที่เขียนยาก ดังนั้นอักษรภาพทั้งหมดจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไปในที่สุด จนกลายเป็นเครื่องหมายการเขียนไปแล้วอย่างเต็มตัว คือ ตัวหนังสือจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมด ไม่สามารถทำให้คนที่ไม่เคยเรียนภาษาจีนรับรู้ความหมายจากรูปร่างของตัวอักษรอีกต่อไป คงเหลือแต่ส่วนน้อย ๆเท่านั้นที่ยังคงทิ้งร่องรอยของอักษรภาพค่อนข้างชัดเจนจนถึงทุกวันนี้ อย่างเช่น

วิธีประดิษฐ์ตัวหนังสือจีนมีอยู่ 4 วิธีด้วยกันดังนี้

1. อักษรภาพ (象形字 xiàngxíngzì) เป็นการวาดภาพจากของจริงอย่างชัดเจน เกือบทั้งหมดเป็นตัวหนังสือเดี่ยว เช่น

ตัวหนังสือประเภทนี้เป็นตัวหนังสือที่เก่าแก่ที่สุด ถึงแม้ว่ามีจำนวนแค่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของตัวหนังสือที่ใช้บ่อยในปัจจุบันนี้ แต่ถือว่าสำคัญที่สุด เพราะเกือบทั้งหมดถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของตัวหนังสือผสมที่ประดิษฐ์ขึ้นในภายหลัง ตัวหนังสือประเภทนี้เป็นตัวหนังสือที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน คนที่เพิ่งเรียนภาษาจีนใหม่ ๆ ควรจะเรียนรู้ตัวหนังสือจีนจากส่วนนี้ก่อนเพราะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเข้าในระบบการเขียนของภาษาจีนอย่างถูกต้องและถ่องแท้

2. เครื่องหมายที่เป็นนามธรรม (指事字 zhǐshìzì) ใช้เครื่องหมายที่เป็นนามธรรมแสดงความหมาย เกือบทั้งหมดเป็นตัวหนังสือเดี่ยว และบางส่วนเกิดจากการผสมผสานระหว่างเครื่องหมายที่เป็นนามธรรมกับตัวอักษรภาพ เช่น

ตัวหนังสือประเภทนี้มีไม่มาก ส่วนใหญ่ใช้ในการแสดงความหมายที่เป็นนามธรรมหรือไม่มีตัวตน ถึงแม้ว่ามีตัวตน แต่ก็ยากที่จะใช้ภาพที่วาดจากจินตนาการของจริงมา แสดงความหมายได้

3. ตัวผสมแสดงความหมาย (会意字 huìyìzì) ส่วนใหญ่เป็นการรวมตัวหนังสือเดี่ยว (หรือส่วนประกอบของตัวหนังสือ) สองตัว หรือสองตัวขึ้นไป ให้เป็นตัวหนังสือใหม่อีกตัวหนึ่งเพื่อแสดงความหมายใหม่ ซึ่งทั้งหมดต้องอาศักการเชื่อมโยงความหมายระหว่างตัวหนังสือเดี่ยว (หรือส่วนประกอบของตัวหนังสือ) แต่ละตัว แต่ ส่วนใหญ่จะเข้าใจไม่ยาก เช่น

ตัวหนังสือประเภทนี้มีจำนวนมาก ทั้งหมดเป็นตัวผสม

4. ส่วนหนึ่งบอกความหมาย อีกส่วนหนึ่งบอกการออกเสียง (形声字 xíngshēngzì) ทั้งหมดเป็นตัวหนังสือผสม ใช้ตัวหนังสือเดี่ยว (หรือส่วนประกอบของตัวหนังสือ) สองตัวขี้นไป เป็นส่วนประกอบของตัวหนังสือใหม่ โดยมีส่วนหนึ่งทำหน้าที่บอกความหมาย และอีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่บอกเสียง เช่น

ปัจจุบันนี้ตัวหนังสือจีนประเภทนี้มีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของตัวหนังสือจีนทั้งหมด

ในช่วงแรกที่เรียนภาษาจีนควรพยายามจดจำตัวหนังสือที่มาจากอักษรภาพ เพราะเกือบทั้งหมดเป็นตัวเดี่ยว เขียนง่าย และมีจำนวนไม่มาก แต่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตัวหนังสือประเภทอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้นการเข้าใจตัวหนังสือประเภทนี้ไม่เพียงแต่สามารถทำให้นักเรียนสร้างความคุ้นเคยกับตัวหนังสือจีนได้เร็วขึ้นและเข้าในระบบการเขียนของภาษาจีนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ยังทำให้รู้สุกสนุกสนานแบะเพลิดเพลิดกับระบบการเขียนแปลกใหม่ชนิดนี้ และที่สำคัญที่สุด ยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนจำตัวหนังสือตัวอื่น โดยเฉพาะตัวหนังสือผสมได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ที่มา: หนังสือจุ๊กจิ๊กจอจีน เล่ม1 ผู้เขียน เหยินจิ่งเหวิน